เลนส์ HOYA

ค.ศ.1941 บ.โฮยา คอร์ปอเรชั่น เริ่มมีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีแทบทุกชนิด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นปัจจุบันมีมากกว่า 100 สาขา ทั่วโลก และ พนักงานอีกราว 35,000 คน โฮยา เป็นผู้ผลิตเลนส์อันดับต้นๆที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆผสานการผลิตที่ไฮเทค เพื่อตอบรับทุกความจำเป็นวันนี้…คุณจึงสามารถพบเห็นเลนส์ของโฮยาได้จากสินค้าเกือบทุกชนิด อาทิ

  • เลนส์แก้วตาเทียม
  • เลนส์แว่นตา
  •  คอนแทคเลนส์
  • Photo masks สำหรับจอ LCD
  • เลนส์ของเครื่องเล่น Blu-ray
  • ฮาร์ดดิสก์
  • Modules กล้องดิจิตอล และ เลนส์ Interchangeable
  • กล้องเอ็นโดสโคป และ เครื่องมือแพทย์

ด้วยประสบการณ์ และ ความชำนาญในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย คือเบื้องหลังของแรงผลักดันที่สำคัญ และ เป็นแรงบันดาลใจที่โฮยายึดถือกันมาตลอด แรงบันดาลใจนั้นยังคงต่อเนื่องมาถึงการผลิตเลนส์แว่นตาของโฮยาเลนส์ในไทย ตั้งแต่เนื้อวัสดุ โครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ การเคลือบมัลติโค้ทตัดแสงสะท้อน รวมถึงเลนส์เปลี่ยนสี เลนส์แว่นตาของโฮยาทุกชนิด ผลิตโดยยึดความเป็นธรรมชาติของการมอง และ คำนึงถึงความสบายตาของการมองเห็นที่ดียิ่งขึ้น ภายใต้การควบคุมคุณภาพของโฮยาที่รับประกันได้ถึงความแม่นยำสูงสุด

Product Description

10492503_310807105796047_6727133812706954159_n

 

อันตรายจากแสงสีน้ำเงิน ที่คนยุคดิจิตอลไม่ควรมองข้าม

หนุ่มสาวชาวดิจิตอล รู้กันหรือไม่ว่า ในขณะที่เราท่องโลกโซเชียลบนสมาร์ทโฟน หรือนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ดวงตาของเราต้องต่อสู้กับแสงสีน้ำเงินอย่างมาก บางครั้งร่างกายก็แสดงอาการผิดปกติออกมาเตือนให้เราได้รู้ด้วย เช่น ปวดหัว ปวดร้าวที่ดวงตา และบริเวณกระบอกตา เมื่อยล้าดวงตา มองภาพไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นอาการที่บอกว่า เราควรหยุดพักได้แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะมองข้ามไป และยังคงใช้สายตาเหมือนเดิม

ในทุกๆ วินาทีที่ตาของเราต้องเพ่งมองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่อ่านหนังสือใต้แสงไฟฟลูออเรสเซนส์ จอประสาทตาคือหน้าด่านแรกของดวงตาที่รองรับการสะท้อนของแสงสีน้ำเงินที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีการสะท้อนอยู่ทุกขณะ ยิ่งเราเพ่งมองนานเท่าไหร่ กระบวนการสะท้อนแสงสีน้ำเงินที่จอประสาทตาก็จะเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานานเท่านั้น ผลร้ายที่อาจตามมาคือ จอประสาทตาของเราจะค่อยๆ เสื่อมลง การมองเห็นก็เริ่มผิดปกติไปจากเดิม เช่น มองภาพบิดเบี้ยวไป มีจุดดำเกิดกลางภาพ หรืออาจร้ายแรงมากจนตาลืมไม่ขึ้น เป็นต้น

เพราะแสงสีน้ำเงิน คือ แสงที่มีสีสว่างมากที่สุด และมีอันตรายต่อจอประสาทตามากกว่าแสงสีอื่น หากคนรุ่นใหม่ที่ติดการเล่นสื่อโซเชียลอย่างเรา ยังไม่อยากให้จอประสาทตาร่วงโรยก่อนวัยอันควร ก็ควรนำข้อปฏิบัติต่อไปนี้มาปรับใช้กับพฤติกรรมที่เคยชินในแต่ละวันด้วย ได้แก่

1.ใช้สูตร 20-20-20 พักสายตา 20 นาที มองไกลในระยะ 20 ฟุต เป็นอย่างน้อย หรือประมาณ 6เมตร และหมั่นบริหารดวงตานานประมาณ 20 วินาที

2. ปรับความสว่างหน้าจอให้เหมาะสม ควรปรับแสงหน้าจอของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสม ไม่จ้าเกินไป หรือ มืดจนเกินไป

3. ติดฟิล์มกรองแสงสีน้ำเงิน สำหรับสมาร์ทโฟนควรเลือกฟิล์มกันรอยที่มีคุณสมบัติกรองแสงสีน้ำเงินด้วย หรือติดหน้าจอกรองแสงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำ

4. เลือกเลนส์กรองแสงสีน้ำเงิน เลนส์ชนิดนี้ช่วยตัดความยาวคลื่นแสงสีน้ำเงินได้มากถึง 440 นาโนเมตร จึงสามารถป้องกันจอประสาทตาในขณะใช้สายตามองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานๆได้

การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงสีน้ำเงิน เป็นเพียงแค่ตัวช่วยหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวเราควรจะปรับพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันด้วย เพียงเท่านี้ แสงสีน้ำเงินก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวต่อดวงตาของเราอีกต่อไปแล้ว